คุณสมบัติของสุนัขที่บริจาคเลือดได้

ปัจจุบันนี้ การรักษาสัตว์ป่วย ที่มีเกร็ดเลือดต่ำจากโรคลิวคีเมีย พยาธิเม็ดเลือด หรือสุนัขที่เสียเลือดมากจากอุบัติเหตุ ฯลฯ ด้วยการให้เลือดนั้น ถือเป็นการรักษาที่ได้ผลรวดเร็ว โดยรับบริจาคเลือดจากสุนัขที่มีสุขภาพแข็งแรง และเลือดสามารถเข้ากันได้ ทำให้สุนัขมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น ขั้นตอนไม่ยุ่งยากเหมือนสมัยก่อน รวมถึงขั้นตอนในการบริจาคเลือดนั้นสามารถทำได้ง่ายและปลอดภัยค่ะ ก่อนอื่นเรามารู้จักกลุ่มเลือดของสุนัขกันก่อนค่ะ
กลุ่มเลือดของสุนัขสามารถแบ่งได้ 8 กลุ่มด้วยกัน คือ DEA1.1, DEA 1.2, DEA 3, DEA 4, DEA 5, DEA 6, DEA 7, DEA 8

ทั้งนี้สามารถแยกออกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ค่ะ

- สุนัขควรมีอายุตั้งแต่ 1-8 ปี และสุขภาพแข็งแรง เนื่องจากในสุนัขโต ไขกระดูกมีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรง และสมบูรณ์ รวมถึงมีการสร้างเม็ดเลือดทดแทนได้รวดเร็ว สุนัขจะไม่ป่วยภายหลังการให้เลือด
- น้ำหนักไม่น้อยกว่า 20 กิโลกรัม ( ต้องอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์ด้วย ) เนื่องจากการบริจาคเลือดสัตวแพทย์ต้องการน้ำเลือด เพื่อช่วยเหลือสัตว์ป่วย ในการบริจาค 1 ครั้ง จะเก็บเลือดปริมาณ 350 มิลลิลิตร (cc) หรือเท่ากับ 1 ยูนิต ซึ่งโดยปกติความสามารถ ในการให้เลือดจะอยู่ระหว่าง 10-20 cc ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม สามารถบริจาคได้ทุก ๆ 4-6 เดือน
- ทำวัคซีนครบทุกปีเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค
- กรณีสุนัขเพศเมียควรผ่านการทำหมันแล้ว ( หรือหมดช่วงมีประจำเดือนแล้ว )
- ไม่มีประวัติเคยได้รับเลือดจากสุนัขตัวอื่นมาก่อน รวมถึงไม่มีประวัติเข้ารับการผ่าตัด 1-2 ครั้ง
- มีโปรแกรมการทานยาป้องกันพยาธิหัวใจและโปรแกรมป้องกันเห็บหมัดอย่างต่อเนื่อง
- ผ่านการตรวจเลือดเช็คสุขภาพ ผลการตรวจต้องมีจำนวนเม็ดเลือดแดง (CBC) อัดแน่นมากกว่า 40%
- ต้องไม่เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางเลือด เช่น พยาธิหัวใจ, พยาธิเม็ดเลือด และ แท้งติดต่อ
-สุนัขจะต้องไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต
-หากสุนัขสามารถบริจาคเลือดได้ จะต้องทำการงดน้ำและอาหารก่อนบริจาคค่ะ เนื่องจากอาจจะต้องมีการวางยา ซึ่งจะทำให้สุนัขปลอดภัยจากการวางยาสลบค่ะ
ทั้งนี้ การให้เลือดจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของสัตวแพทย์ด้วยเช่นกัน

ประโยชน์ที่ได้จากการบริจาคเลือด
1.ได้ร่างกายที่แข็งแรง เพราะร่างกายสุนัข จะผลิตเซลล์เม็ดเลือดใหม่ขึ้นมาใหม่ ทำให้สุนัขมีสุขภาพแข็งแรง
2.ก่อนการบริจาคทุกครั้งสุนัขจะได้รับการตรวจเลือด และเช็คสุขภาพเป็นประจำทุก 4-6 เดือน ในกรณีที่ผลเลือดผิดปกติ ทางโรงพยาบาลสัตว์ จะแจ้งให้เจ้าของทราบทันที ซึ่งจะทำให้สุนัขได้รับการรักษา และหายจากโรคได้เร็ว
3.ได้รับยาบำรุงเลือด
4 ได้ช่วยเหลือตัวอื่นๆ และตัวเอง เมื่อต้องใช้เลือดยามเจ็บและป่วย

ทั้งนี้การบริจาคเลือดจะไม่มีค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมีธนาคารเลือดอยู่ที่โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
โทรศัพท์ 0-2942-8756-9 ต่อ 2329
วันจันทร์ - วันศุกร์ 08.30 – 16.00 น.
วันเสาร์ 08.30 – 12.00 น.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ http://hospital.vet.ku.ac.th/index_files/Page999.htm


โดย คลิกเกอร์ ด็อก


หน้าแรก>คุณครู>โปรแกรม>ฝากเลี้ยงสุนัข>อุปกรณ์คลิกเกอร์>ห้องสมุด>ติดต่อสอบถาม

copyright by clicker-dog.com @ 2009
E-mail : clicker_dog2013@gmail.com , Tel : 

dreamweaver widget
Clicker-dog

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ต้นกำเนิดของสุนัข
เกร็ดความรู้เรื่อง "การถอนขน" (Strip)
วิธีสร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้สุนัข
คุณสมบัติของสุนัขที่สามารถบริจาคเลือดได้

ทำไมสุนัขจึงดุ ก้าวร้าว
คำถามที่พบบ่อยก่อนการให้อาหารดิบ(บาร์ฟ)